[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้บริหารการศึกษา
นายสพล ชูทอง
ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เมนูหลัก
ในสำนักงาน
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 1255 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน
/*อย่าลืมออกจากระบบด้วยนะครับ /*
สำรวจความคิดเห็น

   ท่านมีความพึงพอใจในทิศทางการปรับรูปแบบของเว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ แบบใหม่ มากน้อยเพียงใด? (โดย เลือกจากน้อยที่สุด ถึง มากที่สุด ๕ ระดับ)


  1. น้อยที่สุด
  2. น้อย
  3. ปานกลาง
  4. มาก
  5. มากที่สุด
บริการ(E-service)
  

  หมวดหมู่ : สารสนเทศ
เรื่อง : ข้อมูลพื้นฐาน สพป.นศ.๔ (๒๕๕๕-๒๕๕๗)
blog name : admin
ระดับ : [ มือใหม่ ]
เข้าชม : 24313
อังคาร ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
A- A A+
        


ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
สภาพปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๕๕-๒๕๕๗)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔

map


ที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๐/๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีภารกิจรับผิดชอบบริหารจัดการศึกษาในเขตพื้นที่รวม ๕ อำเภอ คือ อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล อำเภอพรหมคีรี และอำเภอนบพิตำ ในการบริหารจัดคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ แบ่งเครือข่ายจัดการคุณภาพการศึกษาออกเป็น ๘ เครือข่ายคุณภาพ ประกอบด้วย
๑. เครือข่ายขนอม ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๑๗ โรงเรียน
๒. เครือข่ายสิชล ๑ ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๒๑ โรงเรียน
๓. เครือข่ายสิชล ๒ ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๒๐ โรงเรียน
๔. เครือข่ายท่าศาลา ๑ ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๑๗ โรงเรียน
๕. เครือข่ายท่าศาลา ๒ ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๑๒ โรงเรียน
๖. เครือข่ายท่าศาลา ๓ ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๑๙ โรงเรียน
๗. เครือข่ายพรหมคีรี ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๑๙ โรงเรียน
๘. เครือข่ายนบพิตำ ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด ๑๓ โรงเรียน
สถานศึกษาเอกชน จำนวน ๒๘ โรง
สภาพภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและขนาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ มีเนื้อที่ครอบคลุม ๕ อำเภอ อาณาเขตติดต่อประกอบด้วย
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและอ่าวไทยทางอำเภอขนอม
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสุราษฏร์ธานีและอ่าวไทยทางอำเภอขนอมและอำเภอสิชล
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชและอำเภอลานสกาทางอำเภอท่าศาลาและอำเภอพรหมคีรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพิปูนและจังหวัดสุราษฏร์ธานีทางอำเภอนบพิตำ
มีเนื้อที่รวม ๒,๕๓๓,๕๗๗ ตารางกิโลเมตร แยกเป็นรายอำเภอ ดังนี้
อำเภอขนอม ๔๓๓,๙๒๖ ตารางกิโลเมตร
อำเภอสิชล ๗๐๓,๑๐๕ ตารางกิโลเมตร
อำเภอท่าศาลา ๓๖๓,๘๙๑ ตารางกิโลเมตร
อำเภอนบพิตำ ๗๒๐,๑๕๖ ตารางกิโลเมตร
อำเภอพรหมคีรี ๓๑๒,๔๙๙ ตารางกิโลเมตร
ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ มีกลุ่มงานทั้งหมด ๗ กลุ่ม ๑ หน่วย ๑ ศูนย์ ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุมนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน หน่วยตรวจสอบภายใน และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๔ มีจำนวน ๑,๙๘๕ คน ดังนี้
- ผู้อำนวยการ สพป.นศ. ๔ จำนวน ๑ คน
- รอง ผอ.สพป.นศ. ๔ จำนวน ๙ คน
- ศึกษานิเทศก์ จำนวน ๒๐ คน
- บุคลากรทางการศึกษาอื่น มาตรา ๓๘ ค (๒) จำนวน ๕๑ คน
- ข้าราชการครู จำนวน ๑,๕๗๙ คน
- ลูกจ้างประจำ จำนวน ๖๙ คน
- พนักงานราชการ จำนวน ๓๓ คน
- ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน ๒๒๓ คน
ข้อมูลโรงเรียนในสังกัดของรัฐ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๔๒ โรงเรียน(ปีการศึกษา ๒๕๕๗)

ชั้น

จำนวนนักเรียน (คน)

นักเรียนชาย

นักเรียนหญิง

รวม

อนุบาล ๑

๘๕๘

๗๖๘

,๖๒๖

อนุบาล ๒

,๑๒๓

,๐๗๖

,๑๙๙

รวมระดับก่อนประถมศึกษา

,๙๘๑

,๘๔๔

,๘๒๕

ประถมศึกษาปีที่ ๑

,๗๘๐

,๕๖๓

,๓๔๓

ประถมศึกษาปีที่ ๒

,๗๔๕

,๔๘๗

,๒๓๒

ประถมศึกษาปีที่ ๓

,๖๕๙

,๔๔๓

,๑๐๒

ประถมศึกษาปีที่ ๔

,๖๔๒

,๕๕๑

,๑๙๓

ประถมศึกษาปีที่ ๕

,๗๖๓

,๕๘๐

,๓๔๓

ประถมศึกษาปีที่ ๖

,๗๑๖

,๖๔๓

,๓๕๙

รวมระดับประถมศึกษา

๑๐,๓๐๕

,๒๖๗

๑๙,๕๗๒

มัธยมศึกษาปีที่ ๑

๕๔๐

๓๒๙

๘๖๙

มัธยมศึกษาปีที่ ๒

๔๕๓

๓๓๕

๗๘๘

มัธยมศึกษาปีที่ ๓

๓๖๘

๒๕๖

๖๒๔

รวมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

,๓๖๑

๙๒๐

,๒๘๑

รวมทั้งสิ้น

๑๓,๖๔๗

๑๒,๐๓๑

๒๕,๖๗๘

แบ่งตามขนาด ดังนี้
โรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียน ๑๒๐ คนลงมา)  จำนวน ๖๙ โรง
โรงเรียนขนาดกลาง (นักเรียน ๑๒๑ - ๕๐๐ คน) จำนวน ๖๕ โรง
โรงเรียนขนาดใหญ่ (นักเรียน ๕๐๑ คน ขึ้นไป) จำนวน ๑๐ โรง
 

ข้อมูลโรงเรียนเอกชน
โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๒๖ โรงเรียน ในความดูแลของกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ โดยเปิดสอนในระดับเตรียมอนุบาล ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา มีนักเรียน จำนวน ๘,๕๗๔ คน และเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีนักเรียน จำนวน ๔๒๘ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๙,๐๐๒ คน
ข้อมูลการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ มีการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในความรับผิดชอบของกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา จำนวน ๔ ครอบครัว มีนักเรียนกำลังศึกษาอยู่ จำนวน ๖ คน
วิสัยทัศน์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ เป็นองค์กรขับเคลื่อน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก้าวสู่สากล ภายในปี ๒๕๕๘
พันธกิจ
พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามและประสานการจัดการศึกษาให้นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่คุณภาพระดับสากล
ค่านิยมองค์กร
“องค์กรเป็นหนึ่ง เข้าถึงพึ่งได้ มีใจเอื้ออาทร”
เป้าประสงค์
๑. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับตามสิทธิแย่างเท่าเทียมทั่วถึงและเก็กที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนา ส่งเสริม เต็มตามศักยภาพ
๒. นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาในแต่ละระดับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีผลการทดสอบระดับฃาติ (O-Net) เพิ่มขี้นอย่างน้อยร้อยละ ๕
๓. นักเรียนทุกคนมีสมรรถนะตามหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีความสำนึกในความเป็นชาติไทย
๔. นักเรียนทุกคนไดัรับการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๕. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาให้มีความรู้ทักษะและสมรรถนะในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ
๖. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพอละมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
๗. โรงเรียนทุกโรงผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานตามระบบประกันคุณภาพภายใน และได้รับการรับรองมาตรฐาน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
๘. ผู้บริหารโรงเรียนทุกคนสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
๙. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ และโรงเรียนทุกโรงพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๐. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ และโรงเรียนทุกโรง ระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
๑๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน
๑๒. ครูปละบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๑๓. โรงเรียนทุกโรง จัดสภาพแวดล้อมให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร???และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการการจัดการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือจากองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
จุดเน้นการดำเนินงาน

ส่วนที่ ๑ จุดเน้นด้านผู้เรียน
๑.๑ นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ และความสามารถทางวิชาการ เพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังต่อไปนี้
๑.๑.๑ นักเรียนปฐมวัยทุกคน มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่สมดุลเหมาะสมกับวัยและเรียนรู้อย่างมีความสุข
๑.๑.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการทดสอบระดับชาติ (O-Net) กลุ่มสาระหลักบวกเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๕ ของฐานเดิม
๑.๑.๓ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ทุกคน มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณและด้านการใช้เหตุผลเฉลี่ยร้อยละ ๕๐ ของแต่ละด้าน
๑.๑.๔ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทุกคนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
๑.๑.๕ นักเรียนทุกคนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรร์อย่างน้อย ๒ ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เหมาะสมตามช่วงวัย
๑.๑.๖ นักเรียนปกติตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ขึ้นไปทุกคน อ่านออก เขียนได้ ตามคำพื้นฐานของแต่ละชั้น
๑.๒ นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสมดังต่อไปนี้
๑.๒.๑ นักเรียนระดับประถมศึกษาทุกคน ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
๑.๒.๒ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคน มีทักษะในการแก้ปัญหาและอยู่อย่างพอเพียง
๑.๒.๓ นักเรียนทุกคนมีภูมิคุ้มกันด้านสิ่งเสพติดและอบายมุขอื่นๆ
๑.๓ นักเรียนที่ทีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
๑.๓.๑ เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
๑.๓.๒ เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรและอัตลักษณ์แห่งตน
๑.๓.๓ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ
๑.๓.๔ นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชนและสถานศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
๑.๓.๕ เด็กกลุ่มที่ต้องการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษทุกคน ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

ส่วนที่ ๒ จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๒.๑.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุคน สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนและพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
๒.๑.๒ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างน้อย ๒๐ ชั่วโมงต่อปี และสามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
๒.๑.๓ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน สามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสื่อสารอย่างน้อย ๑ ภาษา
๒.๑.๔ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้
๒.๒ การพัฒนาระบบแรงจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีขวัญและกำลังใจ และแสดงศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
๒.๒.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีขวัญกำลังใจ ในการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานคุณวุฒิ
๒.๒.๒ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีขวัญกำลังใจได้รับการจูงใจในการพัฒนาผู้เรียน เต็มตามศักยภาพ
๒.๒.๓ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีผลงานการสอนที่แสดงศักยภาพการสอนอย่างมืออาชีพเป็นเชิงประจักษ์และได้รับความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม
๒.๓ การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
๒.๓.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
๒.๓.๒ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ที่มุ่งพัฒนาการศึกษาของชาติ และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
๒.๓.๓ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีทักษะในการเข้าถึงและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๒.๔ ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านงานวิชาการ ด้านบริหารทั่วไป ด้านงานบุคลากร และด้านงบประมาณ

ส่วนที่ ๓ จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
๓.๑ สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินงานอย่างมีมาตรฐานและมีความรับรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
๓.๑.๑ สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประเทศได้รับการแก้ไข แทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและเป็นผู้ประสานงานหลัก เพื่อให้สถานศึกษาทำแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ๓.๑.๒ สถานศึกษาทุกโรงบริหารจัดการโดยมุ่งการมีส่วนร่วมความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม
๓.๑.๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างเข้มแข็ง โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นิเทศโรงเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้งและศึกษานิเทศก์ นิเทศโรงเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ ๒ ครั้งต่อ ๑ โรง มุ่งการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม
๓.๑.๔ องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ให้รายงานผลการดำเนินงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และติดตามประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็ง เพื่อประโยชน์สูงสุดคือคุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ
๓.๒ สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐาน
๓.๒.๑ สถานศึกษาแต่ละโรงเรียนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น ด้านผลการสอบ O-Net เทียบเคียงในระดับประเทศ
๓.๒.๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียงในระดับประเทศ
๓.๓ สถานศึกษาทุกโรงมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริม สนับสนุน ต่อการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

…....................
หมายเลขโทรศัพท์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
เว็บไซต์ www.pnst4.go.th
อีเมล์ pnst4@pnst4.net
โทรศัพท์ ๐-๗๕๕๒-๑๐๙๗
โทรสาร ๐-๗๕๕๒-๑๒๙๘ ต่อ ๘


4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 11 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :




48 เรื่อง
[ มือเก๋า ]

สารสนเทศ 5 อันดับล่าสุด

      ข้อมูลพื้นฐาน สพป.นศ.๔ (๒๕๕๕-๒๕๕๗) 11/ก.พ./2557